ประวัติความเป็นมา

สถานภาพอำเภอเก้าเลี้ยวปัจจุบัน

1.สภาพทางภูมิศาสตร์

  • ที่ตั้งขนาดพื้นที่และอาณาเขตของอำเภอเก้าเลี้ยวอำเภอเก้าเลี้ยว

ตั้งอู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์   ตามลำน้ำแม่ปิง  ห่างจากจังหวัดนครสวรรค์  20  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  162,5000 ไร่  หรือ 260 ตารางกิโลเมตร  โดยสามารถเดินทางจากอำเภอเข้าสู่ตัวเมือง ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์  โดยทางรถยนต์ หือรถจักรยานยนต์

อำเภอเก้าเลี้ยว  มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ  ติดต่อ  ตำบลบางตาหงาย  ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ทิศใต้  ติดต่อ  ตำบลบ้านแก่ง ตำบลบ้านมะเกลือ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ทิศตะวันออก  ติดต่อ  ตำบลท่าขมิ้น อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิต ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ทิศตะวันตก  ติดต่อ  ตำบลหนองกระโดน  อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

  • ลักษณะภูมิประเทศอำเภอเก้าเลี้ยว

มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม  สูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย  38  เมตร เหมาะแก่การเกษตรกรรม ทำนา  ทำไร่ อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรแยกได้ ดังนี้

  1. ทำนา 103,422 ไร่ ร้อยละ 64   ของพื้นที่
  2. ทำไร่ (ปลูกอ้อย) 25,833 ไร่ ร้อยละ 16   ของพื้นที่
  3. ทำสวน 4,485 ไร่ ร้อยละ  3    ของพื้นที่

ปี พ.ศ.2449   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง และวัดพระหน่อธรณินทร์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของวัดในพระราชนิพนตอนหนึ่งว่า “ ไลเลียงเรื่องวัดนี้ได้ความว่าพระครูหลาอยู่วัดมหาโพธิ เริ่มสร้างวัดนี้ได้ 80 ปีมาแล้ว และได้ปฏิสังขรณ์วัดต่อ ๆ กันมา”

พระองค์เสด็จประพาสต้นวัดนี้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม  พ.ศ.2449 (ร.ศ.125)  นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 90 กว่าปีมาแล้ว  แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินมาวัดเขาดินใต้วัดนี้สร้างมาแล้ว 80 ปีดังนั้น วัดนี้จึงสร้างมานานกว่า 170 ปีแล้ว ถ้ำลับแล

หลังชมทิวทัศน์อันสวยงามแล้วเดินทางทิศเหนือตามสันเขาไปยังเขาอีกลูกหนึ่ง ห่างจากยอดเขามีโบสถ์  ประมาณ 10 เมตร  จะทำทางแยกไปยังถ้ำ บริเวณปากถ้ำมีหินก้อนใหญ่สองก้อนวางเรียงกันอยู่ ก้อนใหญ่นั้นเคยปิดปากถ้ำไว้ตั้งแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ถูกเปิดออกเมื่อ พ.ศ.2531  โดยปากถ้ำมีขนาดกว้าง 1.5 เมตร

ณ  ถ้ำแห่งนี้ ตามตำนานเล่าสืบทอดต่อกันมาว่าเป็นที่อยู่ของชาวลับแล วันดีคืนดีชาวหัวเขา( ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือเขา )  จะได้ยินเสียงปี่พาทย์บรรเลงเพลงไพเราะจับใจมาก  ซึ่งผิดกับเสียงปี่พาทย์ที่ชาวบ้านบรรเลงยังมีเรื่องเล่าอีกว่า เมื่อจะจัดงานบวช งานแต่งงาน หรืองานอื่น ๆ  ที่เป็นงานใหญ่  ซึ่งต้องใช้เครื่องครัวเป็นจำนวนมาก เช่น หม้อ ถ้วย ชาม เป็นต้น  ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงจะไปขอยืมเครื่องครัวจากชาวลับแลที่บริเวณปากถ้ำ  การขอยืมเครื่องใช้จะมีพิธีโดยผู้ที่จะไปขอยืมเครื่องครัวจากชาวลับแลและต้องบอกวัตถุประสงค์ จำนวนของที่จะยืมที่ปากถ้ำ  และกำหนดวันที่จะมารับของให้ชาวลับแลทราบ  ครั้นเมื่อถึงเวลารับของ ๆ ที่ชาวบ้านขอยืมนั้นจะตั้งอยู่ปากถ้ำตามจำนวนที่ต้องการและเป็นเรื่องเล่าอีกเช่นกันว่า  ชาวบ้านที่ยืมของไปส่งของคืนให้ไม่ครบตามจำนวนที่ยืมเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นประจำจนทำให้ชาวลับแลไม่พอใจ จึงปิดปากถ้ำ ไม่ให้ชาวบ้านยืมของอีกต่อไป  ชาวบ้านจึงยืมของไม่ได้ตั้งบัดนั้นเป็นต้นมา  ถึงแม้ว่าปัจจุบันถ้ำจะถูกเปิดแล้วก็ตาม

 

  • การคมนาคม

การคมนาคมของอำเภอเก้าเลี้ยว กับอำเภอใกล้เคียงอยู่ในเกณฑ์สะดวก  ทั้งนี้เนื่องจากมีถนนตัดผ่านหลายสาย  ตลอดจนระยะทางไม่ไกลเกินไป  และเส้นทางสำคัญมีอยู่  ดังนี้

  1. ทางหลวงสายเอเซีย  นครสวรรค์ – พิษณุโลก   หมายเลข 117   ผ่านตำบลมหาโพธิ ตำบลหนองเต่า   ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 15 – 26  รวม  11  กิโลเมตร
  2. ทางหลวงเพื่อการเกษตร   สายนครสวรรค์ – ขาณุวรลักษณ์บุรี หมายเลข 1084  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ผ่านตำบลเก้าเลี้ยว  ตำบลมหาโพธิ  ตำบลหัวดง   ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 23 – 43  รวม  20  กิโลเมตร
  3. ทางหลวงเพื่อการเกษตร สายนครสวรรค์ – บรรพตพิสัย   หมายเลข 1182  ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง  ผ่านตำบลเขาดิน  ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 13 – 38  รวม 15  กิโลเมตร

 

  • แหล่งน้ำสำคัญ
  1. แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญของอำเภอเก้าเลี้ยว  ไหลผ่านตำบลหัวดง  ตำบลเขาดิน ตำบลมหาโพธิ ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
  1. คลองขนมจีนอยู่ระหว่างเขตติดต่อ ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว  กับ ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์
  1. คลองห้วยรั้วอยู่ระหว่างตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว กับตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

 

  • ประชากร

อำเภอเก้าเลี้ยว มีจำนวนประชากรตามสถิติที่ถือเป็นเกณฑ์ จำนวน 34,871 คน ตำบลที่มีประชากรมากที่สุด คือ ตำบลหัวดง  คิดเป็นร้อยละ 26 ของประชากร ตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ ตำบลมหาโพธิ  คิดเป็นร้อยละ 15  ของประชาชน     ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของประชากรทั้งอำเภอต่อพื้นที่ 140.62  ต่อตารางกิโลเมตร

 

  • การปกครอง

อำเภอเก้าเลี้ยว แบ่งการปกครองออกเป็น  5  ตำบล   43  หมู่บ้าน   มีเทศบาลตำบล  1  แห่ง คือ เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว

 

 

2.แหล่งท่องเที่ยว

อำเภอเก้าเลี้ยว  มีแหล่งท่องเที่ยว คือ วัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินคงคาราม (วัดเขาดินใต้)  ซึ่งวัดนี้รัชกาลที่ 5  เคยเสด็จประภาสต้น และเคยสนทนากับหลวงพ่อเฮง  ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเดิม และเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่  ที่ชาวอำเภอเก้าเลี้ยว ให้ความเคารพเป็นอย่างมาก มีตำนานเล่าว่ามีชาวลับแลอาศัยอยู่ในถ้ำใต้วัด  กล่าวกันว่าเคยมีราษฎรที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงได้ยินเสียงดนตรีไทยซึ่งมีความไพเราะมากดังมาจากถ้ำนั้นด้วย

  • วัดพระหน่อธรณินทร์ใกล้วารินคงคาราม

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2375  ในสมัยนั้น มีพระครูเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาโพธิใต้ ตั้งเลขที่ 1 บ้านเขาดินใต้ หมู่ที่ 6  ตำบลเขาดิน  อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์  อยู่ห่างจากตัวอำเภอเก้าเลี้ยว ประมาณ  14  กิโลเมตร   และห่างจากจังหวัดนครสวรรค์  ประมาณ  17  กิโลเมตร  วัดนี้ได้ขึ้นทะเบียนวัดในนาม “วัดพระหน่อธรณินทร์”  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสิมา   เมื่อปี พ.ศ.2387  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  มีที่ดินตั้งวัด จำนวน 6  ไร่

 

 

 

 

ไม่มีคำอธิบาย